ประวัติองค์การสหประชาชาติ
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 : การประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีส (The Paris Peace Conference) เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติ
- 28 มิถุนายน 2462 (ค.ศ. 1919) : สันนิบาตชาติ (The League of Nations : LN)
- สมาชิกก่อตั้ง : 42 ประเทศ
- สำนักงานใหญ่ : นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต
- 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ.1945) : สหประชาชาติ (United Nations : UN)
- ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ
- กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter)
- มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
- การลงนาม : 26 มิ.ย. 2488 (ค.ศ. 1945) - 50 ประเทศ ลงนามที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ
- มีผลบังคับใช้หลังจากที่ประเทศจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ จำนวน 46 ประเทศ ให้สัตยาบัน
- การประชุมสมัชชาฯ ครั้งแรก : กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (10 ม.ค. 2489)
- สำนักงานใหญ่ : นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- สมาชิก : 193 ประเทศ (ประเทศสมาชิกล่าสุด คือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน – 9 ก.ค. 2554)
- เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
- เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง
- เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริม/สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
- เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน
“WE THE PEOPLES OF THE UNITED NATIONS DETERMINED … to save succeeding generations from the scourge of war, which twice in our lifetime has brought untold sorrow to mankind”
- หลักการสำคัญของสหประชาชาติ
- หลักความเสมอภาคในอธิปไตย: ทุกรัฐมีความเสมอภาคกันในอำนาจอธิปไตย ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจึงมีสิทธีเสียงเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก
- หลักความมั่นคงร่วมกัน: ประเทศสมาชิกต้องรวมกำลังกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยต้องยอมรับและปฏิบัติตามข้อผูกพันตามกฎบัตร โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ
- หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ: กฎบัตรให้ความรับผิดชอบพิเศษแก่มหาอำนาจ 5 ประเทศเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ และให้สิทธิยับยั้ง (Veto)
- หลักการไม่ใช้กำลังและการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี: เพื่อจำกัดความขัดแย้งทั้งหลายให้อยู่ในขอบเขต ไม่กระทบสันติภาพโดยส่วนรวม
- หลักความเป็นสากลขององค์กร: เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง และให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพึงปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาสันติภาพ
- หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน: ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรที่ให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้าแทรกแซงกิจการที่อยู่ในเขตอำนาจภายในของรัฐ