ไทยย้ำความสำคัญของการประกันสิทธิด้านสุขภาพรวมถึงในสถานการณ์ความขัดแย้ง ในกิจกรรมคู่ขนานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ไทยย้ำความสำคัญของการประกันสิทธิด้านสุขภาพรวมถึงในสถานการณ์ความขัดแย้ง ในกิจกรรมคู่ขนานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 1 ก.ค. 2568

| 17 view

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 นายไพศาล หรูพาณิชย์กิจ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงเปิดกิจกรรมคู่ขนานในหัวข้อ “การประกันสิทธิด้านสุขภาพในสถานการณ์ความขัดแย้ง (Ensuring the Right to Health in Conflict Situations)” ซึ่งจัดขึ้นในห้วงการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 59 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา โดยมีนาย Atsuyuki Oike เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ร่วมกล่าวเปิดงาน และนางสาวอุศณา พีรานนท์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ย้ำว่าสถานการณ์ความขัดแย้งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรง (อาทิ การบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต) และทางอ้อมต่อสุขภาพ (อาทิ อายุขัยเฉลี่ยที่ลดลง อัตราการเสียชีวิตของมารดาที่เพิ่มขึ้น ภาวะทุพโภชนาการในเด็กที่มีมากขึ้น) โดยได้เรียกร้องให้มีการใช้แนวทางที่นอกจากเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศแล้ว ยังอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลที่อยู่สถานการณ์เปราะบางสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องแม้ในยามวิกฤต พร้อมกันนี้ ยังได้ย้ำบทบาทของความร่วมมือระหว่างประเทศ และแสดงความมุ่งมั่นของไทยในการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม รวมถึงการดำเนินการตามกรอบนโยบายในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชากรที่อาศัยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการจัดหายารักษาโรคและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่าง ๆ

กิจกรรมคู่ขนานนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างไทย บราซิล ญี่ปุ่น นอร์เวย์ และสเปน ร่วมกับองค์กร Médecins Sans Frontières (MSF) และองค์กร Save the Children โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร. Michael J. Ryan ผู้อำนวยการโครงการภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) นาย Tormod Cappelen Endresen เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรนอร์เวย์ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา นาง Claude Maon ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย องค์กร MSF และนาย Michel Anglade ผู้อำนวยการและผู้แทนสหประชาชาติขององค์กร Save the Children สำนักงานเจนีวา

ผู้ร่วมอภิปรายหลายรายอ้างถึงสถิติที่ว่ากว่า 1 ใน 4 ของประชากรโลกปัจจุบันต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ซึ่งทำให้ระบบบริการสุขภาพต้องหยุดชะงัก บุคลากรทางการแพทย์ตกเป็นเป้าการโจมตี และประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานที่จำเป็น โดยผู้อภิปรายทุกคนย้ำถึงความสำคัญของการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ความรับผิดต่อการละเมิดต่าง ๆ รวมถึงการเคารพหลักการการไม่จู่โจมหรือทำลายโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรทางการแพทย์

 

On 24 June 2025, H.E. Mr. Paisan Rupanichkij, Deputy Permanent Secretary for Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand, delivered opening remarks at a high-level side event titled “Ensuring the Right to Health in Conflict Situations,” held on the margins of the 59th Session of the Human Rights Council at Palais des Nations in Geneva. He was joined in the opening segment by H.E. Mr. Atsuyuki Oike, Ambassador and Permanent Representative of Japan to the United Nations Office in Geneva and moderated by H.E. Ms. Usana Berananda, Ambassador and Permanent Representative of Thailand to the United Nations Office in Geneva.

The Deputy Permanent Secretary emphasized the devastating direct and indirect long-term health consequences of conflicts, including injuries and loss of life, and reduced life expectancy, rising maternal mortality, and worsening child nutrition respectively. He stressed the need for pragmatic, rights-based approaches to ensure continued access to healthcare, particularly for vulnerable groups, during emergencies. He also called for the respect of international humanitarian and human rights laws and international cooperation and reaffirmed Thailand’s contribution to humanitarian efforts, including in implementing the policy framework to assist vulnerable populations along the Thailand-Myanmar border through capacity-building, provision of medicine, and medical supplies.

The side event was co-organized by Thailand, Brazil, Japan, Norway, and Spain, along with Médecins Sans Frontières (MSF) and Save the Children. Distinguished speakers included Dr. Michael J. Ryan, Executive Director of the Health Emergencies Programme at the World Health Organization (WHO); H.E. Mr. Tormod Cappelen Endresen, Ambassador and Permanent Representative of Norway to the United Nations Office in Geneva; Ms. Claude Maon, Intersectional Legal Director at Médecins Sans Frontières; and Mr. Michel Anglade, Director and UN Representative at Save the Children, Geneva.

Most panellists highlighted that today more than one-quarter of the world’s population lives in conflict-affected areas where health systems are disrupted, medical personnel are targeted, and access to essential services is severely limited. Panellists also emphasized the importance of respect to relevant international law and accountability for violations including the attacks on healthcare infrastructure and health personnel.

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ