“ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การ UNESCO

“ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การ UNESCO

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ธ.ค. 2567

| 21 view
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage: ICS-ICH) ครั้งที่ 19 ณ กรุงอาซุนซิออน สาธารณรัฐปารากวัย มีมติให้ขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” หรือ “Tomyum Kung” ในบัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity – บัญชี RL) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก
 
การขึ้นทะเบียนครั้งนี้เป็นความภาคภูมิใจของไทยและถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในระดับสากลต่อคุณค่าและความสำคัญของ “ต้มยำกุ้ง” ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีการสร้างสรรค์ให้เข้ากับวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำลำคลองในภาคกลางของไทยตลอดหลายศตวรรษที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารผ่านการสังเกตและเรียนรู้จากธรรมชาติ สะท้อนถึงความเรียบง่าย และวิถีชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติ พึ่งพาตนเอง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
 
ในโอกาสนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีถ้อยแถลงผ่านวีดิทัศน์กล่าวแสดงความยินดีต่อการขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับนานาประเทศในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 
 
ปัจจุบัน ไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในบัญชี RL แล้ว 5 รายการ ได้แก่ โขน (ปี 2561) นวดไทย (ปี 2562) โนรา (ปี 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (ปี 2566) และต้มยำกุ้ง (ปี 2567)
 
 
On 3 December 2024, the Nineteenth Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (ICS-ICH), held in Asunción, Republic of Paraguay, inscribed “Tomyum Kung” on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity under the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage or the 2003 UNESCO Convention.
 
The inscription marks another proud moment for Thailand and will significantly enhance the international recognition of the values and importance of “Tomyum Kung” as a culinary wisdom of the riverside communities in the Central Plains of Thailand, a fertile region that has served as the nation’s primary food production area for centuries. It embodies a food culture rooted in observing and learning from nature, reflecting a way of life that is simple, self-sufficient, and deeply connected to nature, while offering numerous health benefits.
 
On this occasion, H.E. Ms. Paethongtarn Shinawatra, the Prime Minister, expressed her congratulations on this significant recognition and emphasised Thailand’s commitment to promoting the value of intangible cultural heritage at all levels. She also reaffirmed the country’s willingness to work with all countries to safeguard the intangible cultural heritage.
 
 To date, Thailand has five elements inscribed on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity: Khon Masked Dance Drama (2018), Nuad Thai (2019), Nora, Dance Drama (2021), Songkran in Thailand, the traditional Thai New Year festival (2023), and Tomyum Kung (2024).

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ