วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 13,128 view

สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations Secretariat)

ทำหน้าที่เสมือนเลขานุการ
จัดการประชุมให้แก่สมาชิก
  • บริหารงานโดยเลขาธิการสหประชาชาติ (UN Secretary General)
  • เลขาธิการสหประชาชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย
  • รายชื่อเลขาธิการสหประชาชาติ (อดีตจนถึงปัจจุบัน)
คนที่ ชื่อ สัญชาติ วันที่รับตำแหน่ง วันที่พ้นตำแหน่ง หมายเหตุ
1
ทรู้กเว ลี
Trygve Lie
นอร์เวย์ 2 ก.พ. 1946 10 พ.ย. 1952 ลาออก
2
ดั๊ก ฮัมมาโชลด์
Dag Hammarskjöld
สวีเดน 10 เม.ย. 1953 18 ก.ย. 1961 เสียชีวิตระหว่างดำรงตำแหน่ง
3
อู ถั่น
U Thant
พม่า 30 พ.ย. 1961 1 ม.ค. 1972 เลขาธิการคนแรกจากทวีปเอเชีย
4
เคิร์ท วัลไฮม์
Kurt Waldheim
ออสเตรีย 1 ม.ค. 1972 1 ม.ค. 1982  
5
ฮาเวียร์ เปเรซ เอเควลยา
Javier Pérez de Cuéllar
เปรู 1 ม.ค. 1982 1 ม.ค. 1992 เลขาธิการคนเเรกจากทวีปอเมริกาใต้
6
บูทรอส บูทรอส กาลี
Boutros Boutros-Ghali
อียิปต์ 1 ม.ค. 1992 1 ม.ค. 1997 เลขาธิการคนเเรกจากทวีปแอฟริกา
7
โคฟี อันนัน
Kofi Annan
กานา 1 ม.ค. 1997 1 ม.ค. 2007  
8
บัน คี มูน
Ban Ki-moon
เกาหลีใต้ 1 ม.ค. 2007 31 ธ.ค. 2016 เลขาธิการคนแรกจากทวีปเอเชีย
9
อันโตนิอู กุแตเรช
António Guterres
โปตุเกส 1 ม.ค. 2017    
นายอันโตนิอู กุแตเรซ
  • เคยดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) (ปี 2548 – 2558)
  • เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส (ปี 2538 – 2545) และประธาน European Union Council (ปี 2543)
  • เป็นสมาชิก “Club of Madrid” องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งส่งเสริมประชาธิปไตย
นโยบาย/วิสัยทัศน์
เน้นประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเน้นผสานการดำเนินการ ภายใต้ 3 เสาของ UN การส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคม รวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการป้องกัน (Culture of Prevention) เพื่อบรรลุสันติภาพ การสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือที่สอดประสานกัน
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council - ECOSOC): ศึกษาและรายงานเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และสาธารณสุขระหว่างประเทศ
สมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม: 54 ประเทศ
  • เลือกโดยสมัชชาสหประชาชาติ
  • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และมีสิทธิ เข้ารับตำแหน่งซ้ำโดยทันที
  • ไทยเคยเป็นสมาชิกมาแล้ว 6 ครั้งคือ ปี พ.ศ. 2517-2519, 2523-2525 , 2526-2528 , 2532-2534 , 2538-2540 และ 2548-2550
หน้าที่ของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
  • ปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และสาธารณสุข และให้คำแนะนำ เรื่องดังกล่าวต่อสมัชชาสหประชาชาติ รัฐสมาชิกและทบวงการชำนาญพิเศษที่เกี่ยวข้อง
  • ให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการเคารพเเละปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน
  • จัดเตรียมร่างอนุสัญญาและเรียกประชุมระหว่างประเทศในเรื่องทั้งหลายที่อยู่ในขอบอำนาจของคณะฯ
  • ทำความตกลงและประสานกิจกรรมกับทบวงการชำนัญพิเศษ
การเลือกตั้งในองค์การสหประชาชาติ
     สหประชาชาติมีองค์กรและคณะกรรมการต่าง ๆ เป็นกลไกการดำเนินงานในแต่ละด้าน ซึ่งองค์กรและคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ที่หมุนเวียนกันเข้ามาปฏิบัติหน้าที่โดยผ่านการเลือกตั้งตามระยะเวลาที่กำหนด สมาชิกเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมาชิกที่เป็นประเทศและสมาชิกที่เป็นบุคคล ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยและคนไทยได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรและคณะกรรมการต่างๆของสหประชาชาติ
     บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ : กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมองค์การระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรณรงค์หาเสียงกับประเทศต่าง ๆ ในกรณีที่ไทยลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆ ผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่าง ๆ และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในประเทศไทย รวมทั้งหยิบยกประเด็นการขอเสียง/ แลกเสียงสนับสนุนในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศต่าง ๆ เดินทางมาเยือนประเทศไทยและได้หารือกัน หรือในการหารือทวิภาคีของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยที่เดินทางไปเยือนประเทศต่าง ๆ หรือเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ