วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ต.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 ต.ค. 2566

| 1,300 view

วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 (2030 Agenda for Sustainable Development) เป็นแผนปฏิบัติการระดับโลกที่ได้รับการรับรองโดยทีป่ระชุมสหประชาชาติระดับสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2015 (UN Sustainable Development Summit 2015) เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยเป็นแผนที่สานต่อจากภารกิจของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millenium Development Goals : MDGs) ซึ่งสิ้นสุดปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015)

วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนมีสาระสำคัญในการมุ่งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมายหลักให้บรรลุผลภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

ซึ่ง 17 เป้าหมายหลักได้แก่

เป้าหมายที่ 1 การยุติความยากจน (No Poverty)

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (Zero Hunger) 

เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education)

เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Equality)

เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation)

เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy)

เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่า และการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth)

เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure)

เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาค (Reducted Inequalities)

เป้าหมายที่ 11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities)

เป้าหมายที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

เป้าหมายที่ 13 รับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)

เป้าหมายที่ 14 คุ้มครองทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water)

เป้าหมายที่ 15 อนุรักษ์ระบบนิเวศทางบก (Life on Land)

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace, Justice and Strong Institution)

เป้าหมายที่ 17 หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)

 

การขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย

ไทยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP) ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุ SDGs โดยมุ่งเน้นให้การดำเนินการตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัว รวมทั้ง มีการนำความรู้และหลักคุณธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณา

SDGs

 

รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติ โดยสมัครใจ

รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review : VNR)  คือรายงานที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอความคืบหน้าและความท้าทายในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนำเสนอต่อเวทีการหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High - Level Political Forum on Sustainable Development : HPLF) ซึ่งจัดขึ้นในช่วงใกล้เคียงกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี

 ไทยได้เสนอรายงาน VNR ต่อที่ประชุม HPLF แล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2564 และไทยยังจัดทำรายงาน VNR อย่างไม่เป็นทางการเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลวัตของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม SDGs และส่งเสริมการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในไทย และกระบวนการจัดทำรายงาน VNR ยังสร้างความตระหนักรู้และความสนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่สังคม ชุมชน และประชาชนทั่วไป 

VNR_cover_th

S__549535752_0   

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและ download รายงาน VNR ของไทย

http://www.mfa.go.th/sep4sdgs