รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุม UNGA79

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุม UNGA79

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ก.ย. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2567

| 160 view

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2567 นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 (UNGA79) ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำความมุ่งมั่นของไทยในการดำเนินนโยบายรัฐบาลแบบมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยยึดแนวนโยบายเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมกล่าวถึงความสำคัญของการปฏิรูปสหประชาชาติเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ในโลกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างเสริมความเข้มแข็งของกระบวนการเพื่อสันติภาพและความมั่นคง ให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภูมิภาคทั่วโลก ทั้งยังยกตัวอย่างสถานการณ์ในเมียนมาที่ไทยให้ความสำคัญในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ไกล้ชิด ถึงการส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในเมียนมาที่ควรเกิดขึ้นจากภายในเมียนมาเอง ขณะที่ไทยพร้อมสนับสนุนความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยไทยพร้อมสร้างสะพานเชื่อมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างโลกเหนือกับโลกใต้ ผ่านความหวังที่จะเข้าเป็นสมาชิก OECD และ BRICS ซึ่งสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในโลก อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนและทุกประเทศทั่วโลก เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงมนุษย์

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ได้ย้ำความมุ่งมั่นของไทยที่จะปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน ผ่านการผลักดันความยุติธรรมและความเท่าเทียมในสังคม โดยกล่าวถึงการสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) วาระปี ค.ศ. 2025-2027 ของไทย รัฐมนตรีฯ เน้นถึงการสร้างอนาคตร่วมกันของโลก โดยให้ทุกคนจะได้รับการปกป้องและมีความเจริญรุ่งเรือง ผ่านความมุ่งมั่นทางการเมืองเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ของโลกไปด้วยกัน ก่อนจะแสดงความพร้อมของไทยในการเป็นสะพานเชื่อม ส่งเสริมการเจรจาและความเชื่อใจระหว่างประเทศ

FM_gastate1

FM_gastate2  

FM_gastate3  

FM_gastate4  

FM_gastate5  

FM_gastate6  

 

On 28 September 2024, H.E. Mr. Maris Sangiampongssa, Minister of Foreign Affairs, delivered Thailand’s statement at the 79th United Nations General Assembly (UNGA79) General Debate at UNHQ in New York.

The Minister of Foreign Affairs reiterated Thailand’s determination to continue to advance people-centered, economic-oriented policies to achieve stability and sustainable development for the people. He highlighted the importance of UN reform to enable the organization to address global challenges more effectively, especially in strengthening efforts that support international peace and security toward the resolution of conflicts in regions across the world. He also highlighted the situation in Myanmar, which Thailand attaches importance to as a close neighbour and believes that a peaceful solution in Myanmar must be Myanmar-led and Myanmar-owned, while underlining Thailand’s consistent and unwavering readiness to support through humanitarian assistance.

In addition, the Minister emphasised the importance of achieving the Sustainable Development Goals (SDGs), while Thailand stands ready to build bridges in promoting North-South development cooperation, including through Thailand’s aspiration to become a member of BRICS and OECD. Achieving the SDGs is critical to addressing the urgent challenges, such as climate change, and all sectors and all countries are responsible, in order also to reduce the impact of these challenges on human rights and human security. On this occasion, the Minister also stressed Thailand’s commitment in protecting and promoting human rights through advancing justice and equality in society, and highlighted Thailand’s candidature to the United Nations Human Rights Council (HRC) for the term 2025-2027.

The Minister expressed hope for a promising future where everyone will be protected and able to prosper, which requires political will in addressing common global challenges, before expressing Thailand’s pledge and readiness to continue to serve as a bridge-builder, fostering dialogue and trust among nations.