ประเทศไทยร่วมกับองค์การอนามัยโลกและพันธมิตรระหว่างประเทศ จัดงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล ประจำปี ๒๕๖๕ และเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๐ ปีของการตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ประเทศไทยร่วมกับองค์การอนามัยโลกและพันธมิตรระหว่างประเทศ จัดงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล ประจำปี ๒๕๖๕ และเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๐ ปีของการตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ธ.ค. 2565

| 984 view

 

MFA_6605

 

เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต้อนรับในงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล ประจำปี ๒๕๖๕ ในหัวข้อ “สร้างโลกอย่างที่เราอยากจะให้เป็น สร้างอนาคตที่ดีสำหรับทุกคน” ที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ วันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล ตรงกับวันที่ ๑๒ ธันวาคมของทุกปี

กิจกรรมดังกล่าวจัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีคณะทูตานุทูต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน โดยโอกาสดังกล่าวยังเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๐ ปีของการตั้ง สปสช. อีกด้วย

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงของไทย ในการส่งเสริมบริการด้านสุขภาพที่ทั่วถึงและเท่าเทียมสำหรับทุกคน รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนด้านสุขภาพ ทั้งนี้ การดำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องดำเนินการควบคู่กับการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ โดยประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาจังหวัดภูเก็ตและปริมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับนานาชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาทางวิชาการ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๐

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังย้ำว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการสร้างโลกหลัง COVID-19 ที่ปลอดภัยและเป็นธรรมมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมความมั่นคงทางสุขภาพทั่วโลก ทั้งนี้ ประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รับความสนใจในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงในกรอบการจัดทำ “อนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่”ภายใต้องค์การอนามัยโลก การประชุมระดับสูงของสหประชาชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเดือนกันยายน ๒๕๖๖ อีกทั้งผ่านความพยายามในการฟื้นคืนกลับเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับสุขภาพด้วย. 

 

MFA_6565                 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวสรุปว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำเป็นต้องมีความ “ถ้วนหน้า” อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ “การดูแลสุขภาพ” เป็น "สิทธิ" สำหรับทุกคน และไม่ใช่ "อภิสิทธิ์" สำหรับบางคน นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ยังได้กล่าวเปิดงาน โดยย้ำว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นเสาหลักสำคัญในการพัฒนามนุษย์ โดยสามารถนำไปใช้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพได้ในทุกประเทศหากมีความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แท้จริง การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเป็นเจ้าของของประชาชน ระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งบนพื้นฐานของสาธารณสุขมูลฐาน และการจัดสรรเงินทุนอย่างเหมาะสมสำหรับระบบสาธารณสุข.

ในช่วงการอภิปรายในหัวข้อ “๒๐ ปี หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย – ความท้าทายและแนวทางในอนาคต” วิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ภาคประชาสังคม และสมาคมนักศึกษาแพทย์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยในทศวรรษหน้าบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้กำกับดูแลหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนทางสาธารณสุข       ผู้ร่วมอภิปราย ได้เสนอแนะว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถช่วยเปลี่ยน “ความเจ็บป่วย” ให้เป็น “สุขภาพที่ดี” ผ่านการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อาทิ การแพทย์เชิงป้องกัน การมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับเยาวชน และการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์.

กิจกรรมนี้ได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังการสนับสนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในวงกว้าง และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและความท้าทาย ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการดำเนินการด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พร้อมเน้นความสำคัญของการยืนยันคำมั่นของประเทศต่าง ๆ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในช่วงการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายน ๒๕๖๖ ที่นครนิวยอร์กต่อไป.

 

MFA_3107

 

*****

 

TOP STORIES: Thailand together with WHO and international partners commemorated the International Universal Health Coverage Day 2022 and the 20th anniversary of the Thai National Health Security Office (NHSO)

On 9 December 2022, H.E. Mr. Don Pramudwinai, Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs, gave welcoming remarks at the International Universal Health Coverage (UHC) Day 2022 (which falls on 12 December of each year) entitled “Build the World We Want: A Healthy Future for All”, held at the Ministry of Foreign Affairs of Thailand.

The event was co-hosted by the Ministry of Foreign Affairs, the Ministry of Public Health, and the National Health Security Office (NHSO) and attended by over 200 participants from the Diplomatic Community, relevant agencies, and civil society. The event also marked the 20th anniversary of NHSO.

DPM/FM reiterated Thailand’s unwavering commitment to ensure universal and equitable access to health services for all, as well as people’s fundamental right to health. UHC schemes must be implemented in parallel with disease prevention and health promotion. In addition, Thailand has aspired to transform Phuket and its vicinity into an international medical hub, centre of medical excellence, and research facility for academic development by 2027.

DPM/FM also highlighted UHC as an effective tool for pandemic containment and the solid foundation for re-building a safer and fairer post COVID-19 world,  as well as the global health security. The international community must work together to keep UHC high on the international agenda, including through the development of a new ‘pandemic treaty’ under the World Health Organization, the High-Level Meeting on UHC in September 2023 and through the efforts in putting health-related Sustainable Development Goals back on track.

In his conclusion, DPM/FM highlighted that UHC will truly be universal, only when it is making health not a “privilege” for some, but a “right” for everyone.

H.E. Dr. Sopon Mekthon, Vice Minister for Public Health also joined the event and delivered opening remarks by underscoring that UHC is a key pillar for human development. UHC can be fully and effectively implemented in every country through strong political commitment, stakeholders’ active participation, people’ ownership, strong health systems based on primary health care, and adequate financing in health systems.

During the panel discussion on “20-year pathway of Thailand’s UHC – challenges and the way forward”, speakers which include representatives from the Ministry of Public Health, WHO Representative to Thailand, civil society and medical students’ association, shared their perspectives on how to further advance Thai UHC in the next decade, the role of the Ministry of Public Health as a smart regulator in the UHC scheme and relevant recommendations on health financing.

In this regard, they suggested that UHC could help transform “illness” into “wellness” through measures such as preventive medicine, close engagement with youth and dissemination of information on UHC through social platforms.

The event contributed to galvanizing wider support for UHC and allowed relevant stakeholders to discuss progress and challenges, as well as sharing best practices related to the implementation of UHC, while reiterating the importance of Member States to renew their political commitments at the upcoming High-Level Meeting of the United Nations General Assembly on UHC in September 2023 in New York.

*****