การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 ก.พ. 2567

| 1,209 view

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน

ของกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2567

         

             ตามที่สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในฐานะที่กลไกของฝ่ายบริหารที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐให้บริหารงานภายใต้กรอบธรรมาภิบาล โดยกําหนดให้การประเมินความเสี่ยงการทุจริตเป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาล เพื่อลดปัญหา การทุจริตภาครัฐตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้

             การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน เป็นการดําเนินการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบนที่จะนําไปสู่การจัดทํามาตรการภายในต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อป้องกันการดําเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม และเชื่อมโยงกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment - ITA) ตัวชี้วัด OIT ที่ O 30 เกี่ยวกับการดําเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
             กรมองค์การระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความสําคัญต่อเรื่องดังกล่าว และพร้อมส่งเสริมการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและปัญหาขึ้นภายในหน่วยงาน จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบนที่อาจจะก่อให้เกิดการทุจริตและการประพฤติมิชอบภายในหน่วยงาน เพื่อเป็นกรอบในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของหน่วยงาน

 

แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) – ความเสี่ยงการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสินบน

              กรมองค์การระหว่างประเทศ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบนในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยพิจารณาจากงานที่สําคัญขององค์กรในประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่มีวงเงินสูง ซึ่งอาจเป็นประเด็นที่มีความเสี่ยงและทําแผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) โดยกําหนดเส้นแนวนอนเป็นโอกาสที่จะเกิดและเส้นแนวตั้งเป็นผลกระทบ โดยแบ่ง scale เป็น 5 ระดับ และแบ่งโซนสีตามระดับความรุนแรงเป็น 4 สี ได้แก่ แดง ส้ม เหลือง และเขียว เพื่อช่วยตัดสินใจว่าปัจจัยเสี่ยงใด ควรได้รับการจัดการก่อนหลัง โดยนำโอกาสและผลกระทบที่ได้มาลงในแผนภูมิความเสี่ยงดังกล่าว หากความเสี่ยงตกอยู่ในโซนสีแดงจะถือเป็นความเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงทันที หากตกอยู่ในโซนสีเขียวแสดงว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ต้องมีการจัดทํามาตรการเพิ่มเติม

เอกสารประกอบ

O30_มาตรการทุจริตสินบน.pdf
แบบรายงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริต_2567_กรมองค์การระหว่างประเทศ.xlsx
แบบรายงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริต_2567_กรมองค์การระหว่างประเทศ_sign.pdf