ความมั่นคงของมนุษย์

ความมั่นคงของมนุษย์

วันที่นำเข้าข้อมูล 27 เม.ย. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562

| 8,884 view

ความมั่นคงของมนุษย์

 

  • ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) หมายถึง การที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิ

ความปลอดภัย การสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน โดยจะต้องปลอดจากความกลัว ปลอดจากความขาดแคลนหรือต้องการ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี

 

Human Security Network (HSN)

  • ไทยเห็นว่าประเด็นความมั่นคงของมนุษย์สอดคล้องกับผลประโยชน์ของไทยในหลาย ๆ ด้าน อาทิ    

การเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดกลางที่มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง การมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และการมีรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งไทยสามารถใช้เวที HSN ในการสะท้อนท่าทีในเรื่องดังกล่าวได้อย่างสร้างสรรค์ ไทยจึงได้เข้าเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network- HSN)

  • ไทยได้ดำรงตำแหน่งประธาน HSN ครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๘ โดยกลุ่ม HSN นี้ เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้เกิด

Freedom from want, freedom from fear and freedom to live in dignity โดยไทยให้ความสำคัญกับ freedom from want เป็นหลัก

  • ไทยเป็นประธาน HSN ครั้งที่ ๒  ในวาระระหว่าง มิ.ย. ๒๕๕๘ – พ.ค. ๒๕๕๙ โดยมุ่งเน้นการชูบทบาท

สร้างสรรค์ของไทยและผลักดันในหัวข้อหลัก ดังนี้ (๑) ประเด็นสำคัญในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ ที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของมนุษย์ (๒) การป้องกันความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (๓) สาธารณสุข (๔) หลักนิติธรรม และ (๕) การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม 

  • ในช่วงการเป็นประธานของไทย ไทยได้ร่วมกับสมาชิก HSN จัดทำและกล่าวถ้อยแถลงในนามกลุ่มใน 

การประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ (๑) สันติภาพและความมั่นคง (๒) ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (๓) การส่งเสริมการให้  ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และได้จัดการสัมมนาในประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และกลุ่มสมาชิก HSN เมื่อ ๓๐ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ในหัวข้อ “Asia-Pacific Regional Human Security Conference: Implementing a Human Security Approach to Realize the Sustainable Development Goals” เพื่อเป็นเวทีสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้านการพัฒนาประเทศ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบทเรียนที่ได้รับจากการนำแนวทางความมั่นคงของมนุษย์ มาใช้ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๑๐๐ คน จาก ๒๕ ประเทศ รวมทั้งจากองค์กรระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐของไทย   

  • เมื่อวันที่ ๙ มิ.ย. ๒๕๕๙ สโลวีเนียได้รับมอบตำแหน่งประธาน HSN ต่อจากไทยในวาระระหว่าง

มิ.ย. ๒๕๕๙ – พ.ค. ๒๕๖๐ ซึ่งไทยก็พร้อมจะร่วมมือกับสโลวีเนียและประเทศสมาชิกอื่นๆ ต่อไป

 

นโยบายการทูตสาธารณสุข

ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นการทูตเพื่อสาธารณสุข (Health Diplomacy) ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งของนโยบายต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อกระแสของโลกปัจจุบัน ที่ประเด็นด้านสาธารณสุขไม่ได้เป็นเพียงประเด็นภายในประเทศของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศเข้าร่วมในการผลักดันนโยบายสาธารณสุขให้เป็นนโยบายระดับระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้สามารถใช้ประเด็นสาธารณสุขเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นประเด็นที่ไทยสามารถมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศได้ และในทางกลับกันก็สามารถใช้การต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมและยกระดับการสาธารณสุขภายในประเทศได้

          ทั้งนี้ ประเด็นสาธารณสุขที่ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ อาทิ

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health coverage – UHC)

  • สิทธิในการรับบริการด้านสาธารณสุขเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยปัจจุบัน ไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ที่ครอบคลุม ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน
  • ในเวทีระหว่างประเทศ ไทยได้ผลักดันประเด็น UHC อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีของไทยในเรื่องนี้ อีกทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี
  • นอกจากนี้ ไทยได้ร่วมกับกลุ่ม Foreign Policy and Global Health (FPGH) ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นการทูตเพื่อสาธารณสุข ผลักดันให้ประเด็น UHC เป็นวาระระดับโลก โดยไทยร่วมผลักดันให้ประเด็น UHC รวมอยู่ในเป้าหมายที่ ๓ ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) ทั้งนี้ ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม FPGH ในปี 2560  

 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

http://ihppthaigov.net/DB/publication/attachbook/139/chapter1.pdf