วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ธ.ค. 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ธ.ค. 2567
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ดร. ลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ณ ศูนย์การค้า เอ็มควอเทียร์ จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานเปิดงานอย่างเป็นทางการ ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 มีมติรับรองให้ “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL) ประจำปี 2567
นอกจากนั้น การประชุมข้างต้นยังได้มีมติรับรองให้ Kebaya : knowledge, skills, tradition and practices หรือ เคบายา : ความรู้ ทักษะ ประเพณี และการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการเสนอร่วม 5 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ขึ้นทะเบียนเป็น RL ประจำปี 2567 อีกด้วย ถือเป็นรายการมรดกวัฒนธรรมฯ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย ต่อจากโขน (ปี 2561) นวดไทย (ปี 2562) โนรา (ปี 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (ปี 2566) และต้มยำกุ้ง (ปี 2567)
On 6 December 2024, Dr. Lalivan Karnchanachari, Vice Minister for Foreign Affairs, attended the Celebration of Tomyum Gung and Kebaya: Cultural Heritage of Humanity at EmQuartier shopping center, chaired by H.E. Ms. Sudawan Wangsuphakijkosol, the Minister of Culture. It was organized by the Department of Cultural Promotion within the Ministry of Culture. On 3 December 2024, the 19th Session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage (ICS-ICH) in Asunción, Republic of Paraguay, inscribed “Tomyum Kung” on the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity (RL) under the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage or the 2003 UNESCO Convention.
In addition, on 4 December 2024, the meeting also approved the registration of Kebaya: knowledge, skills, tradition, and practices to the list. Kebaya was proposed jointly by five countries—Brunei, Indonesia, Malaysia, Singapore, and Thailand. This marks the sixth cultural heritage item for Thailand, following Khon Masked Dance Drama (2018), Nuad Thai (2019), Nora Dance Drama (2021), Songkran in Thailand, the traditional Thai New Year festival (2023), Tomyum Kung (2024) and Kebaya: knowledge, skills, traditions and practices (2024).
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)